วันเสาร์

12 กันยายน 2552

สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้มาเจอกันช่วงเย็นๆนะครับ ตอนนี้อากาศทางเหนือ (ที่ลำปางที่ผมกำลังนั่งเขียนบล็อคอยู่) อากาสดีมากเลยครับ มีสายฝนโปรยปรายลงมาชุ่มฉ่ำครับ วันนี้ผมยุ่งๆครับ ไปสมัครงานมา(ตอนนี้ว่างงานอยู่ครับเรื่องของเรื่องเลยมีเวลาเยอะ) ไม่รู้เหมือนกันนะว่าเค้าจารับรึเปล่า ผมไปสมัครมาหลายที่เหมือนกัน แต่งานเดี๋ยวนี้หายากจริงๆครับ ลำพังเขียนบล็อกยังไม่มีเงินเข้าเป็นกอบเป็นกำเลยครับ (ยั่งงี้จาเลี้ยงลูกเมียไหวมั้ยเนี้ย-_-) ก็สู้กันไปนะครับ เป็นกำลังใจให้ละกัน ส่วนธุระกิจที่บ้านตอนนี้ก็ให้ คุณพ่อกับแม่ดูแลกันไปก่อน ผมขอออกไปหาประสบการณ์ใหม่ๆดู แต่คงไม่ทำไปตลอดชีวิตแน่ครับ ผมตั้งความฝันของผมไว้แล้ว ไม่รู้ว่าเพื่อนๆมีกันรึเปล่า แต่ผมมีครับและต้องทำให้ได้ด้วย เอาล่ะครับก็เหมือนทุกวันล่ะครับ ผมก็จามานั่งเขียนบล็อคให้เพื่อนๆ อ่านกันเช่นเคย หลังจากเขียนมาได้ระยะนึงแล้วฟืดแบ็กเริ่มมีบ้างครับ แต่ยังไม่พอจาย^-^ ผมต้องพัฒนาไปเรื่อยๆ ในเมื่อเพื่อนเข้ามาบล็อคผมแล้วจาได้ไม่เสียเปล่าไง
ไหนๆก็มาแล้ว เพื่อนๆน่าจะได้อะไรกับไปบ้างล่ะน่า (ผมอยา
กให้มันเป็นแบบนั้นนะครับ พยายามอยู่)
ไปดูกันเลยดีกว่าว่าวันนี้ผมมีอะไรมาฝากกัน
เรื่องนี้ได้แรงบันดาลใจใจากการที่ ผมเป็นคนที่ชอบจิบเบียร์มากๆ คนหนึ่งครับ(กินทุึกวันครับ วันละขวดไม่ได้ติดนะครับแต่มันเป็นยาน่ะครับ เห็นเพื่อนบอกมานะ บอกว่าลดความดันอะไรประมาณนี้แหละ) คือว่าเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาเพื่อนๆ คงรู้กันนะครับว่า มีการขึ้นภาษีเบียร์ ทำให้ผมเกิดความคิดที่ว่าอยากทำเบียร์ไว้กินเองว่ะ ซื้อเค้าเอาไม่ไหวอะ เลยลองหาข้อมูลดูก็ไปเจอเลยเอามาฝากกัน เพื่อประดับความรู้เสริมสร้างรอยยักในสมองกันครับ

ก. ส่วนผสม
ในการทำเบียร์นั้นวัตถุดิบสำคัญที่ใช้คือ ข้าวมอลต์ (Malt) น้ำดอกฮ็อพ (Hop) และยีสต์ (Yeast)
ข้าวมอลต์ ได้มาจากข้าวบาร์เลย์ ซึ่งเป็นธัญพืชที่นิยมปลูกในประเทศที่มีภูมิอากาศเย็น จะมีการปลูกกันมากในประเทศทางทวีปยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี ออสเตรีย อังกฤษ ไอร์แลนด์ เป็นต้น นอกจากนั้น ยังนิยมปลูกในประเทศแคนาดา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ประเทศทางทวีปเอเชียก็มีการปลูกกันมากในประเทศจีน ส่วนประเทศไทยมีการนำสายพันธุ์ข้าวบาร์เลย์เข้ามาปลูกในแถบภาคเหนือ ซึ่งมีภูมิอากาศเย็นมีการส่งเสริมการปลูกข้าวบาร์เลย์ แต่ยังมีปริมาณไม่มากและไม่แพร่หลายเหมือนในประเทศอื่นๆ ที่กล่าวข้างต้น ข้าวบาร์เลย์ที่เก็บเกี่ยวแล้วจะนำไปเปลี่ยนสภาพให้เป็นข้าวมอลต์ในโรงงานทำมอลต์ที่เรียกว่า มอลต์เทอรี่ (Maltery) ส่วนผู้ที่มีหน้าที่ในการทำข้าวบาร์เลย์เป็นข้าวมอลต์เรียกว่า มอลต์สเตอร์ (Maltster) ในขั้นตอนแรกจะนำข้าวบาร์เลย์ไปแช่น้ำที่อุณหภูมิประมาณ ๔๕ องศาเซลเซียส เพื่อให้เมล็ดได้รับความชื้นพร้อมกับได้รับออกซิเจน ซึ่งจะทำให้เซลล์ (Cells) ของเมล็ดได้รับการกระตุ้นเพื่อให้เกิดการงอกของรากอ่อนและใบอ่อน ต่อจากนั้นจึงถ่ายน้ำออกแล้วนำเมล็ดข้าวบาร์เลย์ไปผึ่งบนตะแกรง ซึ่งมีการเป่าลมที่มีความเย็นประมาณ ๑๘ องศาเซลเซียส ไปที่เมล็ดข้าว ในช่วงนี้รากอ่อนและใบอ่อนจะงอกจากเมล็ด ทิ้งไว้ให้มีการงอกของรากอ่อนยาวประมาณ ๒ ใน ๓ ถึง ๓ ใน ๔ ของเมล็ด แล้วจึงนำเมล็ดข้าวไปอบให้แห้งอย่างช้าๆ ที่อุณหภูมิประมาณ ๕ องศาเซลเซียส การอบจึงจะแล้วเสร็จ ข้าวที่อบเสร็จแล้วนี้เรียกว่า ข้าวมอลต์ ซึ่งจะนำไปขัดเอารากอ่อนและใบอ่อนออก การอบให้แห้งนั้น อุณหภูมิของการอบจะเป็นตัวชี้ว่า ข้าวมอลต์ที่อบแล้วจะเป็นข้าวมอลต์ประเภทใด เช่น ถ้าอบที่อุณหภูมิ ๑๒๐ องศาเซลเซียส จะทำให้เปลือกข้าวและเมล็ดเป็นสีดำ จึงเรียกข้าวมอลต์ชนิดนี้ว่า มอลต์ดำ (black malt) หรือ คาราเมลมอลต์ (caramel malt) เป็นต้น
น้ำ เป็นวัตถุดิบที่สำคัญอีกตัวหนึ่ง เนื่องจากเบียร์มีส่วนประกอบที่เป็นน้ำมากกว่า ๙๐ เปอร์เซ็นต์ คุณภาพของน้ำที่ใช้สำหรับการผลิตเบียร์ขึ้นอยู่กับลักษณะของเบียร์ที่จะผลิต ความอ่อน ความกระด้างของน้ำ จะมีผลต่อรสชาติของเบียร์ หรือมีผลต่อความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในกระบวนการผลิต เป็นต้นว่า สารที่ให้ความขมที่มีอยู่ในดอกฮ็อพ จะให้ความขมแก่เบียร์ได้มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความกระด้างและค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ
ดอกฮ็อพ เป็นพืชล้มลุกประเภทไม้เลื้อย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Humulus lupulus นิยมปลูกกันมากในประเทศแถบยุโรป เช่น ประเทศเยอรมนี อังกฤษ สาธารณรัฐเชค นอกจากนี้มีในประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ในแถบเอเชียจะมีการปลูกฮ็อพในประเทศจีนและญี่ปุ่น
ยีสต์ หรือที่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ส่า จัดเป็นจุลินทรีย์ประเภทรา ที่สามารถใช้น้ำตาลจากมอลต์เป็นอาหารเพื่อการเจริญเติบโตและเพิ่มประชากร การใช้น้ำตาลเป็นอาหารของยีสต์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนน้ำตาลไปเป็นแอลกอฮอล์และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเรียกว่า การหมักขณะเดียวกันจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีอื่นๆ ควบคู่กันไปด้วย
ข. กรรมวิธีการผลิต
การผลิตเบียร์เริ่มจากการนำข้าวมอลต์มาบดให้เมล็ดแตก พร้อมทั้งใส่น้ำผสมลงไปในถังผสมถังผสมต่างๆ ที่ใช้ในการผลิตเบียร์ในสมัยก่อนนั้น นิยมทำด้วยทองแดง เนื่องจากทองแดงเป็นวัสดุที่สามารถนำมาดัดเพื่อให้ได้รูปทรงที่สวยงามต่างๆ ได้ง่าย ตัวทองแดงเองนอกจากจะมีความสวยงามแล้ว ยังเป็นตัวนำความร้อนที่ดี ทำให้ความร้อนสามารถผ่านไปที่ของผสมในถังผสมได้เร็วขึ้น ปัจจุบันทองแดงมีราคาแพงขึ้นมาก หาวัสดุได้น้อยลงและจะต้องเสียเวลาบำรุงรักษามาก จึงมีการคิดค้นนำวัสดุสแตนเลสมาทำเป็นถังผสมสำหรับผสมข้าวและต้มเบียร์ ซึ่งนอกจากราคาจะถูกกว่าทองแดงแล้ว ยังสามารถทำความสะอาดด้วยระบบอัตโนมัติ ซึ่งประหยัด ปลอดภัย และไม่เสียเวลาในการดูแลรักษามากนัก
เมื่อผสมข้าวและน้ำลงไปในถังผสมแล้ว จึงให้ความร้อนที่เหมาะสม เพื่อให้เอนไซม์ที่มีอยู่ในข้าวมอลต์ เปลี่ยนแป้งไปเป็นน้ำตาลมอลโตส (Maltose) หลังจากนั้นจึงแยกเอาของเหลวออกจากกากข้าว ของเหลวดังกล่าวเรียกว่า เวิร์ท (Wort) ซึ่งจะมีความหวานของน้ำตาลมอลโตสอยู่จากนั้นจึงต้มเวิร์ทให้เดือดพร้อมทั้งใส่ดอกฮ็อพ เมื่อต้มเวิร์ทจนได้ที่แล้วจะปล่อยให้ตกตะกอนก่อน หลังจากนั้นจึงทำให้เย็นลงพร้อมทั้งใส่ยีสต์และเติมลมเพื่อการเจริญของยีสต์ แล้วนำไปหมักในถังหมัก อุณหภูมิของการหมักขึ้นอยู่กับชนิดของเบียร์และชนิดของยีสต์ที่ใช้ โดยทั่วไป ถ้าใช้ท็อปยีสต์จะหมักที่ประมาณ ๒๐-๒๒ องศาเซลเซียส ถ้าใช้บ็อททอมยีสต์ จะหมักที่ระมาณ ๘-๑๓ องศาเซลเซียส การหมักจะใช้เวลาประมาณ ๕ วัน สำหรับท็อปยีสต์ ส่วนบ็อททอมยีสต์ใช้เวลา ๗-๑๐ วัน
ลองคุณประโยชน์ของเบียร์กันบ้างครับ
เบียรเป็นเครื่องดื่มที่ปรุงแต่งมาจากวัตถุดิบทั้งหลายที่มาจากธรรมชาติ จึงทำให้เบียร์เป็นเครื่องดื่มที่มีคุณประโยชน์ทางด้านโภชนาการนอกจากจะช่วยดับกระหายแล้ว ยังช่วยกระตุ้นให้เจริญอาหาร ปริมาณแอลกอฮอล์และคาร์โบไฮเดรตที่มีอยู่ในเบียร์จะให้พลังงานต่อร่างกาย การดื่มเบียร์ ๑ ลิตร จะได้รับพลังงานประมาณ ๔๔๐ กิโลแคลอรี่ แอลกอฮอล์ยังช่วยกระตุ้นการหมุนเวียนของโลหิต จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีอยู่ในเบียร์ยังช่วยกระตุ้นน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารทำให้ช่วยย่อยอาหารได้ดี ส่วนประกอบจากดอกฮ็อพและเกลือโพแทสเซียมยังช่วยในการขับถ่ายปัสสาวะและชะล้างไต เบียร์ยังช่วยให้ผ่อนคลายความตึงเครียดทางประสาท ทำให้เกิดการตื่นตัว ในเบียร์ยังประกอบด้วยวิตามินที่มีคุณค่าหลายชนิด โดยเฉพาะวิตามินบี ๑ และวิตามินบี ๒ นอกจากนั้นเบียร์ยังมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย รวมทั้งเกลือแร่ต่างๆ เช่น แคลเซียมซึ่งช่วยป้องกันโรคหัวใจ แมกนีเซียม ซึ่งจะช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอล และเสริมสร้างการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ฟอสเฟต ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก ฟัน และเป็นตัวช่วยสะสมพลังงาน นอกจากเกลือแร่ดังกล่าวแล้ว ยังมีพวกโซเดียมซัลเฟต โซเดียมคลอไรด์ และโซเดียมไนเทรต เป็นต้น
นับว่าเบียรเป็นเครื่องดื่มที่มีมานานแล้ว และมีการศึกษาค้นคว้าพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อนำมาใช้ปรับปรุงอุตสาหกรรมการผลิตเบียร์อย่างสม่ำเสมอ จนทำให้การดื่มเบียร์ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและรู้จักกันไปทั่วโลก ทำให้อุตสาหกรรมเบียร์ขยายใหญ่ขึ้น จากทวีปยุโรปเข้าไปในทวีปอเมริกา และแพร่หลายเข้ามาในทวีปเอเชีย ในประเทศไทยก็เช่นกัน อุตสาหกรรมเบียร์มีการขยายตัวอย่างมากในระยะ ๑๐ ปีที่ผ่านมา เมื่อศึกษารายได้ประชากรในระยะเวลาดังกล่าว พบว่าประชากรมีรายได้สูงขึ้น ทำให้มีการดื่มเบียร์เพิ่มขึ้น การขยายตัวของอุตสาหกรรมเบียร์จึงใช้บอกถึงสภาพเศรษฐกิจของประเทศได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนั้นยังส่งผลให้เกิดการขยายตัวในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมขวด อุตสาหกรรมกระป๋องและอุตสาหกรรมกล่องกระดาษอีกด้วย
ก็เป็นสาระดีๆเอามาฝากกันะครับ น้องที่อ่านอยู่อย่าลิดื่มของมึนเมานะครับมันไม่ดี แต่ผมเสียคนไปแล้วล่ะครับ กินเป็นกระสัยนะ ห้ามลอกเลียนแบบละกัน
วันนี้คงพอแค่นี้แหละครับ วันนี้อากาสมันช่าง.........ดีจริงๆครับ เพื่อนลองนึกภาพท้องฟ้าที่คึ้มๆ ฝนตกช่ำๆ อากาสเย็นสบายสิครับ โอ้!!! ไม่ไหวแล้วครับพี่น้องผมขอตัวออกไปซื้อเบียร์ก่อนละกันครับ พักผ่อนซะหน่อยวันนี้วะนเสาร์ เดี๋ยวจารอดูบอล เอาเป็นว่าพรุ่งนี้เจอกันใหม่ครับ โชคดี มีเงินใช้ทุกคนครับ
ป.ล มาเที่ยวลำปางกันบ้างเน้อ......ลำปางเมืองน่าอยู่ เมืองรถม้า ชามเซรามิก ถ้วยกาไก่ ลำปางหนา ทำไมต้องลำปางหนาวมาก......-_- สวัสดีครับ






0 Comments:

Post a Comment