วันจันทร์



(ถนนระหว่างลำปาง – อำเภองาว “ศาลเจ้าพ่อประตูผา” เมื่อ พ.ศ.2495 ภาพโดย : บุญเสริม สาตราภัย / มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักหอสมุด)

สวัสดีครับ เพื่อนๆทุกคน วันนี้ผมจะพาเพื่อนๆไป เที่ยวกันที่ ศาลเจ้าพ่อประตูผาวีรชนที่ปกป้องรักษา จังหวัดลำปางครับ ไปดูประวัติกันก่อนดีกว่าครับ นานมาแล้วมีเรื่องเล่าถึงตำนานความศักดิ์สิทธิ์และวีรกรรมผู้กล้าของยอดขุนพลนักรบแห่งเมืองลำปาง ผู้พลีชีพขับไล่ศัตรูพม่าด้วยความองอาจทรนง
และนานมาแล้วที่เรื่องราวของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้ถูกค้นพบที่นี่ ไขปริศนาความลับแห่งประตูผา ดินแดนที่ได้ชื่อว่า ป่าศักดิ์สิทธิ์ ดอยวิเศษ

เทือกเขาสูงตระหง่านกั้นดินแดนพื้นที่ระหว่างอำเภอเมืองและอำเภองาวจังหวัดลำปาง ทอดตัวเป็นแนวยาวคล้ายกับเป็นเสมือนกำแพงขนาดมหึมาที่ปิดงำ
ปริศนาความลับไว้เนินนานหลายร้อยปี
ชื่อเสียงและความศักดิ์สิทธิ์ของประตูผายังคงแผ่กระจายออกไปด้วยในฐานะที่ดินแดนแห่งนี้ครั้งหนึ่งเคยเป็นสถานที่สร้าง
วีรกรรมของเจ้าพ่อประตูผาหรือพญามือเหล็ก ยอดขุนพลเมืองเขลางค์นครในการพลีชีพขับไล่ศัตรูพม่าที่รุกรานแผ่นดิน ในตำนานเรื่องเล่าได้กล่าวถึงความ
กล้าหาญ ของเจ้าพ่อประตูผาว่า ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2251 - 2275 ได้มีชายผู้หนึ่งซึ่งเป็นชาวบ้านต้า ชุมชนหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ในบริเวณใ
กล้กับประตูผา
ชายผู้นี้ได้เล่าเรียนวิชาอาคมอยู่กับเจ้าอาวาสวัดนายางจนมีความสามารถใช้แขนเป็นกำบังแทนโล่ห์ได้ ชาวบ้านต่าง ๆ ในหมู่บ้านขนานนามท่านว่า
หนานข้อมือเหล็ก ต่อมาท่านได้เป็นทหารเอก
ของท้าวลิ้นก่าน เจ้าเมืองผู้ครองนครเขลางค์

วีรกรรมความหาญกล้าดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการตั้งศาลเจ้าพ่อประตูผาขึ้น เพื่อระลึกถึงคุณความดีของวีรบุรุษนักรบผู้พลีชีพเพื่อปกป้องบ้านเมืองและ ยังเป็น

ที่สักการะกราบไหว้ของลูกหลานชาวลำปางและผู้ที่เดินทางผ่านไปมาในบริเวณนี้

หากลองย้อนกลับในไปในอดีตเมื่อราว 5,000 กว่าปีในยุคก่อนประวัติศาสตร์ และเห็นได้ว่าในบริเวณประตูผาแห่งนี้เคยมีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มาก่อนแล้ว
สังเกตได้จากการค้นพบภาพเขียนของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในแผ่นผาด้านหลังของดอยประตูผาเมื่อปี พ.ศ. 2531 โดยขณะที่กองพันรบพิเศษที่ 3
ค่ายประตูผานำโดย ร.อ.ชูเกียรติ มีโฉม ได้นำ
กำลังทหารฝึกปฏิบัติการไต่เชือกในบริเวณหน้าผา กระทั่งต่อมาในปี พ.ศ. 2541 กรมศิลปากรโดยสำนักงาน
โบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 6 เชียงใหม่ร่วมกับกองพันรบพิเศษที่ 3 ค่ายประตูผาได้ดำเนินการขุดค้นศึกษาทางโบราณคดีและคัดลอก
ภาพเขียนสีพบโครงกระดูกมนุษย์กับวัตถุโบราณ ยืนยันว่าแหล่งโบราณคดีแห่งนี้เป็นแหล่งฝังศพของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่สำคัญที่สุดในภาคเหนือ
สันนิษฐานได้ว่ามีอายุอยู่ในราว 4,000 - 5,00
0 ปีมาแล้ว

ภาพเขียนสีที่แหล่งโบราณคดีประตูผา จำแนกออกได้เป็น 7 กลุ่มตามลักษณะการเว้าของหน้าผา โดยมีความยาวของภาพเขียนทั้งสิ้นประมาณ 300 เมตร
ภาพบางส่วนมีร่องรอยถูกเขียนทับซ้อนกันไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ทำให้พื้นที่เขียนภาพมีลักษณะเป็นปื้นสีแดงหนา นอกจากนั้นยังมีภาพบางส่ว
นเลอะเลือน
เนื่องจากการผุกร่อนตามกาลเวลาและจากก
ารทำลายทั้งโดยธรรมชาติและน้ำมือของมนุษย์

อย่างไรก็ตามทางกรมศิลปากรสามารถคัดลอกภาพได้ถึง 1,872 ภาพซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นภาพมือที่ทำด้วยเทคนิคต่าง ๆ ภาพบุคคลทั้งหญิงและชายที่แสดง
กิริยาท่าทางต่างกัน นอกจากนี้ยังพบภาพของสัตว์ต่าง ๆ เช่น วัว ม้า ลิง นกยูง เต่า เก้ง ผีเสื้อ กระต่ายและกระจง เป็นต้น และยังพบภาพของพิ
ธีกรรมอีกด้วย

ภาพทั้ง 7 กลุ่มที่พบมีรายละเอียดแตกต่างกันไป ภาพกลุ่มที่ 1 "ผาเลียงผา" บริเวณนี้จะพบภาพมือภาพสัตว์คล้ายเต่า เก้งหรือเลียงผา ภาพภาชนะคล้ายชาม
ภาพหน่อไม้ กลุ่มที่ 2 "ผานกยูง" จะพบภาพ
สัตว์คล้ายนกยูง เป็นภาพเด่นของกลุ่มและยังมีภาพตะกวด กระรอก บ่าง พังพอน ภาพบุคคล กลุ่มที่ 3 "ผาวัว"
พบภาพวัวและกลุ่มคนแสดงท่าทางคล้ายกำลังประกอบพิธีกรรมอยู่ด้านหน้าของภาพสัตว์ขนาดใหญ่ กลุ่มที่ 4 "ผาเต้นระบำ" พบภาพเล่าเรื่องของกลุ่มบุคคล
ทั้งหญิงและชาย โดยบุคคลผู้หญิงในภาพคนหนึ่งแสดงการเคลื่อนไหวคล้ายเต้นระบำ นอกจากนี้ยังพบภาพของคนกำลังวิ่งไล่จับวัว กลุ่มที่ 5 "ผาหินตั้ง"
พบภาพสัตว์คล้ายวัว ภาพสัญลักษณ์และภาพการประกอบพิธีกรรมการฝังศพในวัฒนธรรมหินตั้ง กลุ่มที่ 6 "ผางนางกางแขน" จะพบภาพมือ ภาพสัตว์คล้ายตัวตะกวด
วัว ผีเสื้อและนก นอกจากนั้นยังพบภาพผู้หญิง
กำลังยกแขนทั้งสองข้างขึ้นเหนือศรีษะ กลุ่มที่ 7 "ผาล่าสัตว์และผากระจง" พบภาพมือ ภาพสัตว์คล้ายกับกระจง
และภาพผู้ชายสองคนกำลังถือบ่วงแสดงการจับสัตว์ จากการศึกษาพบว่าภาพนี้ถูกเขียนขึ้นหลังจากการฝนหรือจารพื้นผนังหินเป็นร่อง ลึก สันนิษฐานได้ว่าชุมชน
กลุ่มนี้อาจรู้จักการใช้โลหะและนำมาเป็นเครื่องมือในการขุดผนังหินแล้ว ซึ่งภาพเขียนสีทั้งหมดที่พบในบริเวณนี้เขียนขึ้นด้วยสีแดงที่ได้มาจากแร่เหล็กสีแดง
(Hematite) ซึ่งพบแทรกอยู่ในหินปูนและหินดินดาน สันนิษฐานว่านำมาจากดอยผาแดง ซึ่งเป็นเทือกเขาหินปูนขนาดใหญ่ ที่อยู่ห่างออกไปจากแหล่ง
โบราณคดีประตูผา ทางตะวันออกประมาณ 5
กิโลเมตร

แหล่งโบราณคดีภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ประตูผาจังหวัดลำปาง ถือได้ว่าเป็นแหล่งพบภาพเขียนสีจำนวนมากและยาวต่อเนื่องที่สุดในภาคเหนือ
รวมทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแห่งใหม่ของจังหวัดลำปางอีกด้วย

( ขอบคุณเนื้อหาดีๆจาก supatrasorasing@hotmail.com )

เป็นยังไงกันบ้างครับ สำหรับเนื่อหาที่ผมนำมาฝากกันวันนี้ น่ายกย่องคนโบราณนะครับ ที่เค้าสามารถปกป้องรักษาดินแดนไว้ให้พวกเราได้มีที่อยู่กันถึงทุกวันนี้ ยังไงก็ฝากกันไว้นะครับ บ้านเมืองเราเราต้องรัก และหวงแหน อย่าให้สิ่งที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ต้องสูญเสียครับ


1 Comment:

  1. ไม่ระบุชื่อ said...
    จากการสันนิษฐานเบื้องต้นจากลักษณะภาพ เทคนิคการเขียนสี มีอายูอยู่ในราว 2800-3000 ปี

Post a Comment